เมนู

ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา,
วิปัสสนาญาณ 8 เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิ-
ปักขิยธรรม 37 เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุ-
โมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่า ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของ
เหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลม-
ญาณนี้ก็ฉันเป็น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ 8 ที่เกิดขึ้นปรารภ
สังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์ มีอนิจลักษณะเป็นต้น
เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้นญาณนี้ท่านจึง
เรียกว่า อนุโลมญาณ ฉะนี้แล.

10. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส


ว่าด้วย โคตรภูญาณ


ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา โคตฺรภูญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็น
โคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น
ท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน

ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน
ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ,
โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น
โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วย วิวัฏฏนะนั้นด้วย
ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์
จึงกล่าวว่า
โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์
เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้
เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า
เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วน
เดียว
1 ดังนี้.
ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และ
เพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน
ชื่อว่า อนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุ-
โลมญาณขอจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าว
ล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่ง
ลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความ
1. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.

เป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย 6 คือ อนันตระ, สม-
นันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก
ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือ
นิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นภาพ
ที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.

11. อรรถกถามัคคญาณุทเทส


ว่าด้วย มรรคญาณ


ในคำว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา มคฺเค ญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง 2 เป็น
มรรคญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ทุภโต แปลว่าทั้ง 2, อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวอธิบายว่า
ทั้งคู่. มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และ
ขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย
นอกจากการการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลาย
ได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และ
นิมิตทั้ง 2.
เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า